ไซโคลน (Cyclone) เป็นเครื่องกำจัดฝุ่นที่มีราคาถูกที่สุด ไม่มีกลไกและชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนที่ ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย ทำงานโดยอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ทำให้ฝุ่นที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากตกลงสู่ด้านล่าง ซึ่งประสิทธิภาพของไซโคลนขึ้นอยู่กับการออกแบบรูปทรงของไซโคลนและความเร็วลมที่ทางเข้าของไซโคลน ต้องคำนึงถึงการสูญเสียความดันสถิตย์ภายในตัวไซโคลนเป็นสำคัญ ยิ่งประสิทธิภาพสูง แรงเสียดทาน หรือ pressure loss ของไซโคลนก็จะสูงตามไปด้วย และส่งผลให้ผนังของไซโคลนทะลุได้เร็วขึ้นด้วย (ดู air devices efficiency)
Cyclone with Jet Pulse Bag Filter
การนำไซโคลนมาใช้งานร่วมกับ Bag Filter มีข้อดีหลายประการ คือ
- แยกฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ออกก่อน เป็นการลดภารของ Filter bags
- แยกฝุ่นที่มีความแหลมคม
- แยกฝุ่นที่ติดไฟ หรือ ทำให้ประกายไฟดับ เพื่อป้องกัน Filter bags เกิดไฟไหม้
แต่ก็มีข้อเสีย คือ ทำให้ pressure loss ของระบบสูงขึ้น ส่งผลให้ต้องเลือกพัดลมดูดฝุ่นที่สามารถสร้างแรงดันสถิตย์เพื่อเอาชนะแรงเสียดทานในระบบที่เพิ่มขึ้น ทำให้พัดลมดูดฝุ่นมีขนาดใหญ่ขึ้น ความเร็วรอบสูงขึ้น และที่สำคัญขนาดของมอเตอร์ที่ใช้ขับพัดลมดูดฝุ่นก็ต้องใหญ่ขึ้นตามไปด้วย รวมไปถึงค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กับการดูดฝุ่นควันจากเตาหลอมโลหะ ที่อาจจะมีประกายไฟติดมา และต้องการลดอุณหภูมิของควันให้ต่ำลงก่อนเข้า Bag Filter และงานเจียร์โลหะ ที่ฝุ่นเจียร์มีความแหลมคม อาจจะทำให้ filter bags ฉีกขาดได้ เมื่อมีการเสียดสีไปนานๆ อีกทั้งฝุ่นโลหะที่คมจะฝังติดในผิวถุงกรองฝุ่น ทำให้ถุงกรองฝุ่นตันเร็วขึ้นด้วย
ค่าแรงดันสูญเสียสำหรับไซโคลนประเภทต่างๆ
- ไซโคลนประสิทธิภาพต่ำ แรงดันสูญเสีย 2-4 นิ้วน้ำ
- ไซโคลนประสิทธิภาพปานกลาง แรงดันสูญเสีย 4-6 นิ้วน้ำ
- ไซโคลนประสิทธิภาพสูง แรงดันสูญเสีย 8-10 นิ้วน้ำ
หรือ คำนวณหาจากสมการด้านล่าง
ตัวอย่างรายการคำนวณหาขนาดไซโคลน
การติดตั้ง Booster Fan เพื่อเพิ่มแรงดันสถิตย์ ในบางครั้งตำแหน่งที่ติดตั้งไซโคลนอยู่ห่างจาก dust collector มากๆ ทำให้แรงดันสถิตย์ หรือ static pressure ที่พัดลมดูดฝุ่นของเครื่องกำจัดฝุ่นอุตสาหกรรมไม่เพียงพอที่จะเอาชนะแรงเสียดทานของไซโคลนได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งพัดลมด้านบนหัวไซโคลนเพื่อช่วยส่งฝุ่นเข้าสู่ท่อดูดฝุ่นของ dust collector เนื่องจากประสิทธิภาพของไซโคลนสามารถแยกฝุ่นที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากให้ตกลงสู่ด้านล่างได้ แต่ไม่สามารถดักฝุ่นที่มีขนาดเล็กและเบาได้ ฝุ่นเหล่านี้จึงหลุดลอดออกจากไซโคลนเข้าไปปะทะกับใบพัดลมของ Booster Fan ทำให้ใบพัดลมสึกหรอเร็วกว่าปกติ